สรุปงานวิจัย
การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
โดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
ปริญญานิพนธ์
ของ
คมขวัญ อ่อนบึงพร้าว
🏡 ความมุ่งหมายของการวิจัย 🏡
เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
🏭สมมติฐานการวิจัย 🏭
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดรูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ มีการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกัน
🎪เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1.แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
2.แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.86
🏠วิธีดำเนินการวิจัย
1.ทำการสุ่มเด็กนักเรียนชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปีซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนสาธิตอนุบาลละอออุทิศ กรุงเทพมหานคร สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต โดยการจับฉลาก 1 ห้องเรียนจาก 10 ห้อง และใช้การประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยเลือกนักเรียนที่มีคะแนนทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ใน 15 อันดับสุดท้ายเป็นกลุ่มทดลอง
2.ผู้วิจัยดำเนินการทดลองในช่วงกิจกรรมเสริมประสบการณ์ ระหว่างวันที่ 9 มกราคม พ.ศ.2550 ถึงวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2550 ใช้เลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน จัดกิจกรรมในวันอังคาร วันพุธ วันพฤหัสบดี ในช่วงเวลา 09.00-09.45 น.วันละ 45 นาที รวมทั้งสิ้น 24 ครั้ง
3.ทดลองเด็กก่อนการทดลองด้วยแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่ผู้วิจัย ทำขึ้น
4.ผู้วิจัยสอนเด็กกลุ่มทดลอง ด้วยแผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
5.หลังการทดลองผู้วิจัยทำการทดสอบเด็กด้วยแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ชุดเดียวกันกับที่ก่อนการทดลองอีกครั้ง
6.วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ และสรุปผลการทดลอง
🏰สถิติที่ใช้ในการวิจัย
1.สถิติพื้นฐาน
1.1คะแนนเฉลี่ย
1.2ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
2.สถิติทดสอบสมมติฐาน
เปรียบเทียบการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้ t-test แบบ Dependent Sample
ขอบเขตการวิจัย
💒กลุ่มตัวอย่าง
เป็นนักเรียนระดับปฐมวัยชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปีซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนสาธิตอนุบาลละอออุทิศ กรุงเทพมหานคร สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต โดยการจับฉลาก 1 ห้องเรียนจาก 10 ห้อง และใช้การประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยเลือกนักเรียนที่มีคะแนนทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ใน 15 อันดับสุดท้ายเป็นกลุ่มทดลอง
🎪เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1.แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
2.แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.86
🏠วิธีดำเนินการวิจัย
1.ทำการสุ่มเด็กนักเรียนชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปีซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนสาธิตอนุบาลละอออุทิศ กรุงเทพมหานคร สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต โดยการจับฉลาก 1 ห้องเรียนจาก 10 ห้อง และใช้การประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยเลือกนักเรียนที่มีคะแนนทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ใน 15 อันดับสุดท้ายเป็นกลุ่มทดลอง
2.ผู้วิจัยดำเนินการทดลองในช่วงกิจกรรมเสริมประสบการณ์ ระหว่างวันที่ 9 มกราคม พ.ศ.2550 ถึงวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2550 ใช้เลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน จัดกิจกรรมในวันอังคาร วันพุธ วันพฤหัสบดี ในช่วงเวลา 09.00-09.45 น.วันละ 45 นาที รวมทั้งสิ้น 24 ครั้ง
3.ทดลองเด็กก่อนการทดลองด้วยแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่ผู้วิจัย ทำขึ้น
4.ผู้วิจัยสอนเด็กกลุ่มทดลอง ด้วยแผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
5.หลังการทดลองผู้วิจัยทำการทดสอบเด็กด้วยแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ชุดเดียวกันกับที่ก่อนการทดลองอีกครั้ง
6.วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ และสรุปผลการทดลอง
🏰สถิติที่ใช้ในการวิจัย
1.สถิติพื้นฐาน
1.1คะแนนเฉลี่ย
1.2ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
2.สถิติทดสอบสมมติฐาน
เปรียบเทียบการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้ t-test แบบ Dependent Sample
สรุปผลการวิจัย
1.เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์มีคะแนนเฉลี่ย ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ โดยรวม 5 ทักษะ และจำแนกรายทักษะคือ ทักษะการบอกตำแหน่ง ทักษะการจำแนก ทักษะการนับ 1-30 ทักษะการรู้ค่ารู้จำนวน และทักษะการเพิ่ม-ลดภายในจำนวน 1-10 อยู่ในระดับดี แตกต่างจากก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้น
2.เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ มีพัฒนาการทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในทุกทักษะสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น